วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

รายงานซอด้วง



 



ซอด้วง
คำอธิบาย: http://img.kapook.com/u/pirawan/Travel/7_1.jpg
ซอด้วงเป็นซอสองสาย มีเสียงแหลม ก้องกังวาน คันทวนยาวประมาณ 72 ซม คันชักยาวประมาณ  68 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 – 150 เส้น กะโหลกของ ซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำ ปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซม กะโหลกของซอด้วงนี้ ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ งาช้างทำก็ได้
สายซอด้วงนั้น มีเพียงสองสายและมีเสียงอยู่ สองเสียง คือสายเอกจะเป็นเสียง "เร" ส่วนสายทุ้มจะเป็นเสียง "ซอล" โดยใช้สายไหมฟั่นหรือว่าสายเอ็นก็ได้
ซอด้วงใช้ในวงเครื่องสาย วงมโหรี โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวงและเป็นหลักในการดำเนินทำนอง

ประวัติที่มาของซอด้วง
         ซอด้วง เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี มี 2 สาย เกิดเสียงจากการใช้คันชักสี ใช้บรรเลงในวงดนตรีไทยประเภทต่างๆ เช่น วงเครื่องสายไทย วงมโหรีและการบรรเลงเดี่ยว ทำหน้าที่เป็นผู้นำวงและดำเนินทำนองในแนวระดับเสียงสูงคู่กับซออู้ที่ดำเนิน ทำนองในระดับเสียงต่ำลักษณะของซอด้วงนั้นมีลักษณะคล้ายซอของประเทศจีน ที่มีชื่อว่า ฮู-ฉินทุกอย่าง เหตุที่เรียกว่า ซอด้วงก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหมือนกัน จึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั่นเอง
          จากหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏข้อความในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งตราไว้ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 - 2031) ในกฎมณเฑียรบาลตอนที่ 15 และ 20 อันเป็นบทบัญญัติกำหนดโทษแก่ผู้ที่เล่นดนตรีเพลิดเพลินเกินขอบเขตเข้าไปถึง พระราชฐานขณะล่องเรือผ่านนั้น ปรากฏมีชื่อเครื่องดนตรีระบุไว้ ได้แก่ ขลุ่ย ปี่ ซอ จะเข้ กระจับปี่ โทน ทับในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ได้บันทึกไว้ว่า “ขบวนเรือยาวที่แห่มารับตัวท่านและคณะว่ามีเสียงเห่ เสียงโห่และเสียงดนตรีประเภทกระจับปี่สีซอดังกึกก้องไพเราะไปทั่วคุ้ง น้ำ...จะเห็นได้ว่า ในกฎมณเฑียรบาลและในจดหมายเหตุลาลูแบร์ ได้มีการกล่าวถึงซอ” ไว้อย่างชัดเจน แต่เสียดายที่ไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าเป็นซออะไร
1. กระบอกซอ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกทำด้วยไม้ ตรงลำตัวจะมีกระพุ้งเล็กน้อย ตอนปลายผายภายในเจอะให้เป็นโพรง ใกล้หน้าขึ้นหนังจะเจาะรู 2 รูเพื่อใส่คันทวน
2. หน้าซอ ขึ้นหนังด้วยหนังลูกวัว หนังงูเหลือม หรือหนังลูกแพะ
3. คันทวน จะทำด้วยไม้ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้    
เดือย เป็นส่วนล่างสุดกลึงให้เล็ก เพื่อสอดใส่เข้าไปในกะโหลกตอนบนทะลุออกตอนล่างเล็กน้อย   
เท้าช้าง กลึงลักษณะกลมเพื่อยึดติดกับกะโหลกซอตอนบน 
ลูกแก้ว กลึงเป็นวงกลมรอบไม้ต่อจากเท้าช้าง    
เส้นสวด กลึงเป็นวงกลม ห่างจากลูกแก้วขึ้นมาเล็กน้อย    
บัวกลึง บากให้เป็นสี่เหลี่ยมเพื่อให้รับกับโขนซอ  
โขนซอที่ปลายคันทวน จะกลึงรูปสี่เหลี่ยม โค้งไปทางหลังเล็กน้อยเรียกว่าโขนซอ และที่โขน    จะเจาะรู 2 รูเพื่อสอดใส่ลูกบิด    
ลูกบิด ทำด้วยไม้กลึงหัวใหญ่มีลักษณะเป็นลูกแก้ว ก้านบัวประดับเม็ดปลายกลมเรียวแหลม เพื่อสวดใส่ในลูกบิด ตอนปลายสุดจะบากเป็นช่องเล็กๆ สำหรับผูกสายซอ   
สาย ใช้สายไหมทั้ง ๒ เส้น เส้นหนึ่งเป็นสายเอก อีกเส้นหนึ่งเป็นสายทุ้มต่อมาใช้สายเอ็นผูกที่เดือยใต้กะโหลลกผ่านหย่อง ซึ่งทำด้วยไม่เล็กเพื่อหนุนสายให้ลอยตัวผ่านหนังหน้าซอไปยังลูกบิดและไปพัน ผูกที่ปลายลูกบิดทั้งสอง ก่อนถึงลูกบิดใช้เชือกรัดสายให้ตึงห่างจากคันทวนพอประมาณ เรียกว่า         รัดอก   
คันชัก ทำด้วยไม้กลึงกลมโค้งเล็กน้อย ตอนหัวและหาง กลึงเป็นลูกแก้ว

ภาพแสดงส่วนประกอบต่างๆ ของซอด้วง

คำอธิบาย: ซอด้วง

คำอธิบาย: ซอด้วง

คำอธิบาย: ซอด้วง

คำอธิบาย: ซอด้วง

คำอธิบาย: ซอด้วง

คำอธิบาย: ซอด้วง

คำอธิบาย: ซอด้วง

คำอธิบาย: ซอด้วง


การเทียบเสียงซอด้วง
ใช้ขลุ่ยเพียงออเป่าเสียง ซอล โดยการปิดมือบนและนิ้วค้ำ เป่าลมกลางๆ ก็จะได้เสียง ซอล ขึ้นสายทุ้มของซอด้วง ให้ตรงกับเสียงซอลนี้ ต่อไปเป็นเสียงสายเอก  ใช้ขลุ่ยเป่าเสียง เร โดยปิดนิ้วต่อไปอีก 3 นิ้ว เป่าด้วยลมแรง ก็จะได้เสียง เรขึ้นสายเอกให้ตรงกับเสียง เร นี้



การนั่งสีซอ
นั่งพับเพียบบนพื้น จับคันซอด้วยมือซ้าย ให้ได้กึ่งกลางต่ำกว่ารัดอกลงมาเล็กน้อย ให้ซอโอนออกกจากตัวนิดหน่อย คันซออยู่ในอุ้งมือซ้าย ตัวกระบอกซอวางไว้บนขา ให้ตัวกระบอกซออยู่ในตำแหน่งข้อพับติดกับลำตัว มือขวาจับคันสีด้วยการแบ่งคันสีให้ได้ 5 ส่วน แล้วจึงจับส่วนที่ 3 ข้าง ท้าย ให้คันสีพาดไปบนมือนิ้วชี้ นิ้วกลางเป็นส่วนรับคันสี ใช้นิ้วหัวแม่มือกดกระชับไว้ นิ้วนางกับนิ้วก้อยงอไว้ส่วนใน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดันคันสีออกมาหาสายเอก และ ดึงเข้าเมื่อต้องการสีสายทุ้ม
คำอธิบาย: https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhnbKM7I3U8BvbnpiHT25Av1_ZCFrpBIaVldNVlL8H7bkBjbHa2vq2ug_u5LkEHQb5tI_URs4aW8Pfh73LH1XSp7_sOKpnOSfB_Gm75gvEtVfguAGbMAXDdIAEZurYVNs5SsY2gYFdvKQc/s320/so%25281%2529.jpg
ภาพแสดงการเล่น ซอด้วง
การสีซอ
วางคันสีไว้ด้านใน ให้อยู่ในลักษณะเตรียมชักออก ค่อยๆลากคันสีออกให้เกิดเสียง ซอล จนสุดคันชัก แล้วเปลี่ยนเป็นสีเข้าในสายเดียวกัน (ทำเรื่อยไปจนกว่าจะคล่อง) พอซ้อมสายในคล่องดีแล้ว จึงเปลี่ยนมาสีสายเอกซึ่งเป็นเสียง เร โดยการใช้นิ้วนางกับนิ้วก้อยมือขวา ดันคันสีออก ปฏิบัติจนคล่อง

ฝึกสลับให้เกิดเสียงดังนี้   
คันสี ออก เข้า ออก เข้า  =  เสียง ซอล ซอล เร เร   
ข้อควรระวัง 
ต้องวางซอให้ตรง โดยใช้ข้อมือซ้ายควบคุม อย่าให้ซอบิดไปมาได้
วิธีการดูแลรักษาเครื่องดนตรี (ซอ)
1.เมื่อเลิดเล่นให้ลดสายด้วยการบิดลูกบิดลงประมาณครึ่งรอบแล้วเลื่อนหมอนรองรองสายขึ้นไว้บนขอบกระโหลก
2. ทำความสะอาดโดยการใช้ผ้าแห้งเช็ด
3. แขวนหรือใส่ถุงเก็บในตู้ให้มิดชิด
4. การใส่สายซอ สายเอกใส่ที่ลูกบิดล่างเวลาขึ้นสายบิดเข้าหาตัว สายทุ้มใส่ที่ลูกบิดบน
5. สายรัดอก รัดต่ำจากลูกบิดสายเอกประมาณ ๔-๕ นิ้ว ให้ลึกประมาณครึ่งนิ้ว
6. การหยอดสายยางสนบนกระโหลกซอ ให้หยอดเฉพาะตำแหน่งที่หางม้าผ่านเท่านั้น เมื่อฝุ่นยางสนเกาะกระโหลก หลังเลิกเล่นต้องเช็ดให้แห้ง
7. หากสายขาดบ่อยๆให้ใช้สายเอ็นแทนก็ได้
8. หมอนซออู้มีขนาดโตกว่าซอด้วง ใช้แทนด้วยไม้ระกำ หรือหุ้มด้วยผ้า ถ้าจำเป็นอาจใช้กระดาษม้วนเป็นวงกลมขนาดพอเหมาะแทนชั่วคราวได้


เอกสารอ้างอิง

ภัทราวุฒิ  จูถนอม. “ซอด้วง” [ออนไลน์] / เข้าถึงได้จาก : http://www.thaigoodview.com    
     สืบค้น 16 มกราคม 2556   เวลา 14:57 น.